มีคนถามมาเยอะมาก ทำให้อดไม่ได้ว่า โรคหมอนกระดูกมันคืออะไร! จริงๆ แล้วมีอวัยวะเยอะไปหมดในร่างกายเราซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและเรื่องใกล้ตัว แต่เราไม่รู้จักมันเลย หมอนรองกระดูกคืออะไรเหรอ???

หมอนรองกระดูกคืออะไรเหรอ???
.
หมอนรองกระดูกคือ เนื้อเยื่อส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่เป็นข้อต่อในการขยับของกระดูกสันหลัง
และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการรับแรงกระแทก เวลา ลุก นั่ง หรือกระโดด ฯลฯ หมอนรองกระดูกจะอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อและอวัยะส่วนนี้ ไม่ได้อยู่เฉพาะที่ คอหรือเอว แต่จะนับแต่คอ อก เอว ถึงบริเวณก้นกบ
.
โดยปกติแล้วมนุษย์เราประกอบด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 30 ชิ้น
เริ่มต้นตั้งแต่…
.
กระดูกสันหลังส่วนคอ 7 ชิ้น
กระดูกสันหลังส่วนกลาง 12 ชิ้น
และกระดูกสันหลังส่วนกลางหรือเอวอีก 5ชิ้น
แต่ละส่วนของกระดูกสันหลังบริเวณคอ อก และเอว 24 ชิ้นนี้ เชื่อมด้วยเนื้อเยื่อซึ่งเป็นแผ่นกลมเรียกว่า “หมอนรองกระดูก”
.
ด้านในหมอนรองกระดูกมีลักษณะนุ่มเหนียว ส่วนด้านนอกแข็ง
หมอนรองกระดูกช่วยให้หลังมีความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหวและปกป้องกระดูกจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทก อย่างการเดินยกของ หรือบิดตัว
.
ส่วนกระดูกสันหลังชิ้นที่ 25-30 เชื่อมต่อยาวมาถึงบริเวณก้นกบ เป็นเส้นเดียวกัน ไม่มีหมอนรองกระดูกรองรับเหมือนกระดูกสันหลัง 24 ชิ้น
.
โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากการอายุมากขึ้น
และการเสื่อมสภภาพของร่างกาย หรือการยกของหนัก การสูบบุหรี่ ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ
ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น
.
การเสื่อมของกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการทรุดตัว ดังนั้นร่างกายจะมีอาการตอบสนอง โดยการสร้างกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว ส่วนใหญ่กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่จะไม่มีอาการ แต่ว่าบางคนเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทของร่างกายได้
.
สัญญาณเตือนว่าเราเป็นโรคหมอนรองกระดูก คือ ปวดคอร้าวลงแขน ปวดเฉพาะที่ ปวดหลังร้าวลงขา
ยืนนานก็ปวด นั่งนานก็ปวด ปวดเรื้อรัง รักษาไม่หาย ฯ
.
วิธีการรักษาส่วนใหญ่ที่หมอแนะนำ คือ งดสูบบุหรี่ หลีกเหลี่ยงการยกของหนักและออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องเพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกแข็งแรง
.
3 ท่าบริหารโยคะนี้ มีท่านั่งบิดตัวท่างู และ ท่าปัศจิโมตานาสนะ พร้อมวิธีการปฎิบัติจากการฝึกโยคะ เชื่อว่าท่านี้จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ลดอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ สะโพก เอว และแผ่นหลัง ฯ
.
แต่คิดว่าต้องค่อยๆ ฝึกนะค่ะ เพราะว่าถ้าคนที่กล้ามเนื้อหลังยังไม่แข็งแรงเวลาทำท่าพวกนี้อาจจะก้ม เงย ลำบาก และเจ็บ แต่ยุ้ยเชื่อว่าถ้าฝึกบ่อยๆ และสม่ำเสมอกล้ามเนื้อหลังเราจะแข็งแรงขึ้น
.
ใครมีอะไรแนะนำเพิ่มเติมเรื่องนี้ คอมเมนต์ได้เลยนะค่าา
🙋♀️😊
.
ถ้าชอบช่วยกันแชร์
หรือแท็กชื่อเพื่อน
เพื่อรับและแบ่งปันสิ่งดีๆ
ขอบคุณค่ะ^^

1. ท่านั่งบิดตัว
1. เริ่มด้วยการนั่งบนพื้นโดยชันเข่าหยียดขาออกไปด้านหน้า มือวางไว้แนบลำตัวทั้งซ้ายขวา ยืดอกยืดหลังให้ตรง
.
2. จากนั้นนำเท้าซ้ายสอดเข้าไปอยู่ใต้ขาขวาโดยให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ใกล้กับสะโพกด้านขวาให้มากที่สุดและเท้าซ้ายต้องแนบติดพื้น ส่วนขาขวาให้ยกเท้าขวาวางข้ามเข่าซ้ายโดยให้เท้าขวาวางแนบพื้นใกล้กับสะโพกด้านซ้าย
.
3. หายใจเข้าลึกๆ พอหายใจออกให้บิดลำตัวไปทางด้านขวา ให้มือซ้ายยกไปวางราบพื้นอยู่ใกล้กับสะโพกทางด้านขวา บิดลำตัวค้างไว้ 30-60 วินาที
โดยมือขวาที่วางอยู่ อาจจะวางเป็นรูปถ้วยก็ได้
.
4. ค่อยๆผ่อนคลายยกเท้าขวาออกเพื่อสลับทำอีกข้างนึง พยายามยืดไหล่ ยืดหลังให้ตรง เพื่อบิดหน้าท้องได้เต็มที่

2.ท่าปัศจิโมตานาสนะ
.
1.เตรียมท่า โดยการนั่งเหยียดขาสองข้างออกไปข้างหน้า มือสองข้างวางไว้หน้าตักหายใจเข้าพร้อมกับเหยียดมือขึ้นให้ลำตัวเหยียดตรง
2. หายใจออก พร้อมกับการพับเอวลงมา มือจับที่เท้า หากจับไม่ถึง ไม่เป็นไรให้จับส่วนใดส่วนหนึ่งของขาได้ แต่ไม่งอเข่า ตอนจะก้มลง พยายามเอาหน้าท้องลงไปหาหน้าขา แล้วเงยหน้าไว้ เพราะถ้าเอาหน้าก้มลงไปก่อนทั้งที่เราไม่สามารถเหยียด หลังให้ตรงได้ จะทำให้หลังเรางอ และพยายามผ่อนคลายให้มาก แรกๆ ทำเท่าที่ทำได้ อย่าพยายามฝืนทำจนบาดเจ็บ หรือหย่อยจนเหมือนไม่รู้สึกอะไรเลย
3. ค้างท่านี้ไว้พร้อมกับหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆ ประมาณ 4-5 ลมหายใจ

3.ท่างู
1.นอนคว่ำอยู่บนพื้น เท้าเหยียด มือวางไว้ข้างลำตัวในระดับไหล่ หน้าหันไปข้างได้ข้างหนึ่ง
.
2.กดเท้า กล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกลงบนพื้น
3. หายใจเข้าพร้อมกับหันหน้าตรง เอาคางจรดพื้น มือยันพื้นและเหยียดข้อศอก ยกศีรษะ ไหล่ หน้าอก เอวให้สูงขึ้นเงยหน้าไปด้านหลัง โดยส่วนที่ยังกดอยู่บนพื้นคือบริเวณหัวเหน่า ต้นขาและเท้า โดยที่ไม่มีอาการปวดหลัง
.
4. ให้ค้างท่านั้น 15-30 วินาทีให้หายใจปกติ เวลาหายใจออกให้หย่อนตัวลงบนพื้นให้ทำซ้ำๆ 3 นาที

0 Comments